top of page
66497600_10220397680119056_5112666899506790400_o.jpg
Artboard 1-4_edited.png

วัดสำหรับชาวพุทธ
ทุกชาติ ทุกภาษา

ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลกตะวันตก คนไทยที่อาศัยอยู่ไกลบ้านต่างหวนคิดถึงบรรยากาศที่คุ้นเคย การพบปะพูดคุยแบ่งปันทุกข์สุข การทำอาหารรสชาติดั้งเดิมมารับประทานร่วมกัน ด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดการรวมตัวของกลุ่มชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองเบอร์ลินรวมตัวกันบริจาคปัจจัยส่วนหนึ่งโดยมุ่งหวังจะจัดตั้งวัดไทยในเมืองเบอร์ลินขึ้นมาให้สำเร็จ 

 

วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน ได้สถาปนาเป็นวัดในพระพุทธศาสนาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งกำหนดนับจากวันซื้อที่ดินพร้อมทั้งอาคาร ในเขตวิทเท่นเนา-ไรนิเคนดอร์ฟ กรุงเบอร์ลิน โดยพระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระพรหมวชิรปัญญาจารย์ (ทองดี ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) ในฐานะองค์อุปถัมภ์และดูแลได้ให้นามวัดไว้ว่า “วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน” ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยในกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนีและประเทศใกล้เคียง

เรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมสร้างวัดพุทธวิหารให้เป็นบ้านที่สมบูรณ์

Artboard 1-2_edited.png

โครงการปัจจุบัน

ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการวัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลินได้เซ็นต์สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตพังโคว (Pankow) มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๓.๖ ไร่ เป็นที่ตั้งของวัดแห่งใหม่ ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๕ วัดได้ย้ายเข้ามาใช้พื้นที่แห่งนี้ สิ่งต่างๆภายในวัดค่อยๆ ได้รับการจัดสรร ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

กว่าจะเป็นวัดหรือบ้านที่สมบูรณ์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ และแรงศรัทธาเป็นพลังสำคัญที่จะทำให้วัดขับเคลื่อนต่อไปได้ เมื่อสมาชิกครอบครัววัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การวางแผนจัดสรรพื้นที่ให้เพียงพอกับการใช้งานในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นที่ประกอบสังฆกรรม พิธีบรรพชา-อุปสมบท ที่จัดงานเนื่องในวันสำคัญทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ที่อบรมโครงการต่างๆ ที่พักอาศัย ที่พักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ  จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของวัด ณ ขณะนี้

Bildschirmfoto 2024-11-04 um 13.19.55.png

๒๕๕๕ - ๒๕๖๘

กองทุนเพื่อโครงการ
บูรณะซ่อมแซมกุฏิ 

ศูนย์กลางของวัด 

การบูรณะซ่อมแซมอาคารหลังนี้ให้แล้วเสร็จถือเป็นหัวใจสำคัญของวัด ณ ขณะนี้ เพื่อที่จะได้มีพื้นที่ใช้สอยที่ปลอดภัยและเพียงพอสำหรับคณะพระภิกษุสงฆ์ แม่ชี กรรมการวัด สมาชิก และผู้มาเยี่ยมเยือน 

Titel Bild.jpg

๒๕๖๕ - ๒๕๗๑

กองทุนเพื่อโครงการสร้างอุโบสถวัดพุทธวิหาร 
ที่ประทับของพระพุทธเจ้า

อุโบสถเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ประธานของวัด สำหรับชาวพุทธเถรวาท ถือว่าเป็นบ้านหรือที่ประทับของพระพุทธเจ้า และยังใช้สำหรับประกอบพิธีสำคัญ เช่น พิธีอุปสมบท (บวชพระ) และการสวดพระปาฏิโมกข์ ตลอดทั้งพิธีกรรมที่สำคัญทุกๆ พิธี

 

วัด ๑ วัด สามารถสร้างอุโบสถได้เพียง ๑ หลัง

IMG_0703 2024-06-17 23_59_20.JPG

๒๕๖๘

กองทุนเพื่อโครงการตั้งศาลา
ที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา และวัฒนธรรรม

ศาลาเป็นอาคารอเนกประสงค์ที่ใช้ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม

 

วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลินได้รับมอบโครงสร้างอาคารที่ใช้ในงาน มหกรรมพืชสวนโลก (EXPO 2022 Floriade Almere) ณ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เพื่อนำมาติดตั้งใหม่และประยุกต์ใช้อีกครั้ง
 

READ ON TO HEAR FROM OUR GUESTS ABOUT
OUR DELICIOUS TOURS IN WINE COUNTRY

Tipsy Testimonials

TABLE TALK

This is the space to share a review from one of the business's clients or customers.

Emilio C.

This is the space to share a review from one of the business's clients or customers.

Sara L.

This is the space to share a review from one of the business's clients or customers.

John D.

Recommended by

ตราวัด-พุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน-ใหม่_edited.png
ตรา วัดราชโอรสาราม.png
Logo Fine arts department.png

ยินดีต้อนรับทุกท่าน

เข้าสู่วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

วัดไทยในอุปถัมภ์พระเดชพระคุณพระพรหมวชิรปัญญาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณทิต)

เจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

วัดพุทธวิหารคือบ้านอีกหลัง

Untitled-1.png

พิธีฝังลูกนิมิต ผูกสีมา
วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน

ในวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ทางวัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน ได้จัดพิธีฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา อุโบสถธรรมชาติขึ้น กำหนดเขตประกอบสังฆกรรมได้ แต่ก็เป็นเพียงลานกลางแจ้ง ไม่สะดวกในฤดูฝนและไม่สามารถทำกิจกรรมได้เลยในฤดูหนาวที่มีอากาศติดลบ

ในปีพ.ศ. ๒๕๗๓ ศกหน้านี้ จักเป็นโอกาศครบรอบ ๗ รอบ ๘๔ ปี พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพรหมวชิรปัญญาจารย์ (ทองดี ป.ธ.๙, ราชบัณทิต) องค์อุปถัมภ์วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน และวัดสาขาในต่างประเทศ และเป็นปีที่ครบรอบ ๑๖๘ ปี ความสัมพันธทางการทูตไทย-เยอรมนี ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมศิลปากร กระทรวงต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน พุทธศสนิกชนทั้ง ชาวไทย เยอรมันและทั่วโลก ทั้งยังเป็นการสนองนโยบาย 'ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ' ของรัฐบาลไทยอีกด้วย จึงเป็นที่มาของการดำริถึงการก่อสร้างอุโบสถทรงไทยประยุกต์  วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

bottom of page